holidaygodgun

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ปล่อยแสง




บันทึกภาพที่ไปแสดงงาน TCDC ; ปล่อยแสง 3
ใช้ตัว ก ไก่ มาทำเป็นโต๊ะตั้งงาน

ใครคิดว่าผมทำชุ่ย ทุกตัวผมคำนวนการรับน้ำหนักหมดนะ ^^

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

ที่มา Thesis

ผมพยายามที่จะหาอะไรมาอัพในบลอคนี้ ที่มันเกี่ยวกับทีสิสที่ได้ทำไปพอสมควร
แต่ผมคิดอยู่นาน (หรือดองนาน) จนนึกขึ้นได้ว่า อัพเกี่ยวกับทีสิสในส่วนที่ไม่มีเขียน
หรืออรรถาธิบายกับเหล่คณะกรรมการน่าจะดี

เพราะในส่วนของเนื้อหาสาระนั้น บางครั้งก็ต้องยอมรับว่า
คนเราถ้าหากมันไม่มีอะไรภายนอกมาดึงดูดใจนั้นแล้ว
คงจะยากที่จะมาสนใจ กรรมวิธีหรือขั้นตอน ซึ่
งถึงจะมีประโยชน์
ก็เชิญไปอ่านเอาเองในตัวเล่มศิลปนิพนธ์ และถามผมเองจะดีกว่า

> ที่มาของงานนั้น ถ้าหากจะเล่าย้อนไปก็คงต้องย้อนกลับไปในช่วงนึง
ที่ผมยังเด็กมาก หรือช่วงอนุบาลอะไรประมาณนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
ครอบครัวผมซึ่งมักจะคาดหวังหรือ คิดเห็นกับการดูแลลูกชายคนเดียวในบ้าน
ตามแบบของครอบครัวไทยซึ่งติดกับขนบ หรือความคิดเดิมๆพอสมควร ทั้งเรื่อง
อนาคตหรืออาชีพการงานต่างๆ การเลี้ยงดู การปูพื้นฐานทางความรู้จึงมักเน้น
ไปทางสายอาชีพซึ่งทางผู้ใหญ่คิดเอาเองว่าน่าจะมีความมั่นคง ตามปกติ
ผนวกกับคุณพ่อ ซึ่งเรียนมาทางด้านการคำนวน หรือค
ณิตศาสตร์ประยุกต์
ซึ่งในสำนักงานของทั้งคุณพ่อและแม่ก็จะมีคนที่ทำงานเป็นสถาปนิค อยู่ทั้งคู่
ซึ่งถ้าหากในวัยเด็กถ้าพูดถึงเรื่องทางศิลปะอาชีพที่ผมจะนึกถึงอันดับแรกก็คือสถาปนิค
หรือวิศวกร

ซึ่งก็คงไม่แปลกถ้าตอนเด็กใครๆก็อยากเป็นนุ่นเป็นนี่อยู่เรื่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อย
ตอนนั้นผมมีความคิดที่จะชอบทางศิลปะบ้างแ
ล้ว แต่ค่อนข้างถูกปิดกั้นจากการเลี้ยงดู
และปลูกฝังของครอบครัวพอสมควร ซึ่งอาจจะเป็นขั้นถึงที่ว่าเป็นสายอาชีพที่ "ห้าม" ที่จะ
ทำต่อไปในอนาคต (ครอบครัวผมเน้นให้ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ซะงั้น พวกอุปกรณ์การทดลอง
ยันกล้องจุลทรรศน์ และกล้องดูดาวยังมีเลย)
ซึ่งก็เเปลกที่จริงๆผมสนใจทั้งเรื่องศิลปะและวิทยาศาสตร์ทั้งสองเรื่องพร้อมๆกันโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ข้างบ้านผมเป็นนักเรียนศิลปะของมัณฑศิลป์ ศิลปากรฯ มั้ง
ผมจึงมีโอกาสอ่านการ์ตูน มากมาย ทั้งเล่มที่หายากมากๆ เช่นพวก artbook ของศิลปินดังๆ
จากญี่ปุ่น และพวกตัวการ์ตูน Marvel ทั้งหลาย

ซึ่งจากการอ่านการ์ตูนมากๆ คงเป็นธรรมดาที่เด็กอย่างผมจะเกิดความคิดเรื่อง
ง่ายๆ ที่ว่า ถ้าตัวพวกนี้ออกมาจริงๆก็คงจะดี ตอนเด็กๆผมจึงมักหมดเวลาไปกับการวาดการ์ตูน
ส่งไปขายหัวเราะ (เรื้อนมากวัยเยาว์) การอ่านหนังสือ และการนำวัสดุ หรือกระดาษต่างๆ
ออกมาสร้างเป็นชิ้นส่วนเหมือนในการ์ตูน อย่าง Cobra , Gundam , Gunm Last Order ฯลฯ
(ชนิดทำเป็นยานเลยนะ เล็กๆไม่ ใหญ่ๆทำ)

แต่มันก็ไม่สามารถตอบคำถามเรื่องนึงของผมในตอนนั้นได้ ก็คือจากการอ่านหนังสือมากๆนั้น
ผมจะสนใจรูปร่างหน้าตาตัวหนังสือพอสมควร และจากการเดินทางไปย่านราชดำเนินบ่อยๆ
ซึ่งมักจะมีทั้ง culture และป้ายร้านรวงต่างๆ ที่มักมีเสน่ห์ดูดใจได้เสมอ
จึงเกิดคำถามที่ว่า"ถ้าตัวหนังสือ มันออกมาเป็นตัวตนจริงๆมันจะหน้าตาเป็นยังไง?"

มันเป็นคำถามในใจเก็บไว้ตั้งแต่เด็กๆว่าตัวการ์ตูน หรืออะไรๆ มันออกมาได้อยู่แล้ว
เพราะมันมีความเป็นไปได้ของมวลและรูปทรงที่โดเรมอนหัวในเส้นผ่านศุนย์กลางขนาดนี้
มันจะออกมาเท่าไหร่ (ตอนเด็กๆคิดง่ายๆได้แค่นี้) แต่ความเป็นไปได้ของตัวหนังสือ
ในการออกมาเป็นตัวเป็นตนจริงๆนั้น แทบจะไร้ข้อกำหนด การที่ป้ายร้านทองนั้น

ออกมาเป็นความหนา 1 นิ้วได้นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเกิดจากความเคยชิน และตรรกะ
ในขั้นที่เรียกว่า "เหมาะสม" กับหลายปัจจัย ทั้งความเคยชิน ชั้นเชิงทางฝีมือช่าง ฯลฯ
ซึ่งมันไม่น่าจะใช่สิ่งที่เรียกได้ว่า ความจริงแล้วตัวหนังสือ สามาารถออกมาในโลกเสมือนจริง (3D)
นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

แน่นอนความคิดและปัญหาเหล่านั้นก็ได้หายไปตามเวลา หรือบางทีผมคงลืม

จากการเรียนในมหาวิทยาลัย ในคาบที่อ.โรจน์ สยามรวย ได้สอนและให้งานในการจัดหน้าตัวหนังสือ
และพิมพ์ออกมานั้น ตอนนั้นถือได้ว่าได้เปิดโลกผมอย่างมาก เมื่อตอนหยิบกระดาษ
ที่เป็นตัวหนังสือจัดหน้ากลาง ออกมาจากLaser Printer ของมหาลัย และการมองเห็นตัวอักษร
ที่เกิดจากระบบการพิมพ์นั้นได้ดึงดูดความสนใจของผมได้มากพอสมควร จากทั้งส่วนโค้ง และ

สัณฐานต่างๆของตัวอักษร ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกในการให้ความสนใจในเรื่องตัวอักษรของผมมากพอสมควร

จากนั้นในวิชาเดียวกันในเทอมถัดมา ผมได้เรียนกับอ.ซูม ซึ่งในคาบแรก อ.ซูมได้นำหนังสือ
เกี่ยวกับ Typography มาประมาณสองสามเล่ม (คิดว่าเล่มที่ผมหยิบมาดูน่าจะเป็น TDC เล่มไหนจำไม่ได้)
ซึ่งจะมีกรอบเล็กๆภาพนึงเป็นงานชื่อ Crystal Goblins
(เข้าใจว่าชื่อนำมาจากบทความชื่อ The Crystal Goblet จึงใช้คำว่า Goblins แทน )
ซึ่งนับว่าเป็นอีกขอบเขตนึงของตัวอักษรที่ผมไม่รู้จัก

และประกอบกับอ.ซูม พูดว่า"งานนี้ขั้นเทพแล้วถึงจะทำได้"
ตอนนั้นผมก็ไม่รู้ว่ามันยากยังไง เพราะยังเด็ก ประกอบกับถึงจะชอบตัวอักษร แต่งานก็จัดได้ว่า
อยู่ในขั้นหมาไม่เห่า แถมยังยากอีกด้วย เลยไม่ได้อยากถามอะไรต่อ



^ ตัวอย่างของ Crystal Goblins จากหนังสือ Dimensional Typography

ซึ่งภาพของ The Crystal Goblins ติดตาผมพอสมควร
และด้วยอะไรไม่รู้ผมซึ่งสนใจในเรื่องการออกแบบตัวอักษรอยู่แล้ว
จึงได้ติดใจอะไรกับมันสักอย่างโดยไม่รู้คำตอบ และพยายามค้นหางานในแบบๆเดียวกันอยู่นาน
(ซึ่งมารู้ตอนหลังนี่เองว่าจริงๆแล้วทำไมสนใจนักอาจจะเป็นเพราะเป็นคำถามที่คาใจมายาวนานโดยไม่รู้ตัว)

คงต้องขอข้ามเรื่องความสนใจในการออกแบบตัวอักษรไปก่อน
แต่ในช่วงเดียวกันนั้นเอง ผมซึ่งชอบทำอะไรหลายๆอย่างอยู่แล้ว
และในที่สุดก็ทำให้ผมได้รู้จักกับ AAtion ของอังกฤษ ก็นับเป็นอีกขั้นในการ
ทำความเข้าใจในตัวArchitecture มากจริงๆ ซึ่งสิ่งที่จะมาขวางกั้นจินตนาการ
จากการก่อสร้างในรูปแบบที่ไม่อยากเรียกว่าModernเลย -_- ในสังคมปกติ
ได้หายไปโดยแทบจะสิ้นเชิง การศึกษาและใส่ใจในเรื่องขั้นตอน และการทำความเข้าใจใน
ตัวArchitecture ของผมจึงเริ่มมาจากตอนช่วงไล่เลี่ยกันด้วย

>การเปิดความเข้าใจสิ่งต่างๆในทั้งเรื่องของการออกแบบตัวอักษร และความเข้าใจในเรื่องการทำงาน
เพื่อให้ได้โครงสร้าง และรูปทรงต่างๆเริ่มเป็นสิ่งที่น่าจะมีความเป็นไปได้มากขึ้น
และผมคิดว่าคงเป็นโอกาสดีที่จะได้ตอบสนองคำถามตัวเองนี้
และการศึกษาเพื่อหาขั้นตอนต่างๆจากการทำทีสิสครั้งนี้เพื่อการทำงานอื่นสนองจินตนาการตัวเองต่อไปในอนาคต
ซึ่งเป็นที่มาของคำถามที่ว่า 2d>3d ได้อย่างไร
และการนำความสัมพันธ์ในการรับรู็เรื่องมิติของมนุษย์จากทั้ง Typography,Architecture มาใช้
ซึ่งอย่างน้อยๆที่สุดความค่อนข้างสุดขั้วของทั้งสองฝ่ายในเรื่องที่เกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
เราจะสามารถนำ TypoGraphy ออกมาเป็น 3D ในโลกความเป็นจริงได้นั้น ต้องยอมรับว่า มันแน่นอนที่จะมีหลากหลายวิธีการ
เพื่อนำไปสู่ผลนั้น และการนำ TypoGraphy มาเป็น 3D ด้วยวิธีการทาง Architectureหรือสิ่งที่มีหลักการทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่เป็น 3Dอยู่แล้ว
ของผมนั้นก็คงเป็นทางเลือกเล็กๆอีกทางในการทำความเข้าใจได้อย่างง่ายที่สุด
ในกับทั้งทางขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าวิธีการอื่นๆนั้นมีแน่นอน
แต่การทำแบบนี้น่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด (อาจจะเพราะมันมีสิ่งที่จับต้องเเละทำความเข้าใจได้ง่าย
แม้คนที่มีความรู้เพียงผิวเผินอย่างผมก็สามารถทำได้) ซึ่งจะเห็นได้ว่า การนำ case study มาใช้นั้นค่อนข้างให้ผลที่ดีต่อการทำความเข้าใจ
ในคนหมู่มากพอสมควร เพราะมีขอบเขตมากขึ้นทำความเข้าใจง่ายขึ้น

สุดท้ายคงเป็นครั้งหน้า ที่จะพูดถึงองค์ประกอบต่างๆต่อไป
เอา PDF เลยมั้ย ? ไม่ให้หรอก เพราะไมีมีคนอ่าน อัพเองอ่านเอง

วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552

Preview_3d_typography

ฝากแปะรูปทิ้งไว้ก่อน
วันหลังค่อยมาอัพ



2d>3D

Typography<>Architecture

เชื่อมโยงการรับรู้มิติด้วยตัวอักษรไทย
=Thai 3d typography with Prefabrication Architecture


วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2552

Chiness_YEAR


ฝากหน่อย

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

My Data1

สวัสดีครับตอนนี้ผมได้มีโอกาสซะที
กับรายงานเรื่อง Paul Renner ซึ่งค้างคาใจมานานแสนนาน
ตอนนี้ผมได้ข้อมูลมาเพิ่ม ก็เลยอยากจะพยายามเรียบเรียง
มาลงในบลอคเก็บไว้ดูต่างหน้า อ. ผู้สอนทั้งสองท่าน
ที่ช่วยเปิดโอกาสทางการศึกษาของผม
__________________________________________
ในอันดับแรก ผมไม่แนะนำกับการนำข้อความของผมไปใช้ในการอ้างอิงใดๆ
ไม่ใช่เพราะอะไร ผมคิดว่าสิ่งในบลอคของผมไม่ได้มีความสมบูรณ์ พอ
ถือว่า ตอบสนองกับเรื่องการสร้าง Data เอาสนุกๆละกัน
__________________________________________
Paul Renner มีความสำคัญเช่นไร ในเมื่อเขาเองก็มิใช่นักออกแบบ
หรือศิลปินเอกของโลกในยุคที่วงล้อของโลกได้หมุนอย่างรวดเร็ว
และเปลี่ยนแปลง

อย่างน้อยๆคำถามแรกที่ได้จากคำสั่งในการค้นคว้าก็คือ
Renner มีความสำคัญยังไง ในเมื่อ ในรายชื่อการค้นคว้าของชั้นเรียนขณะนั้น
เต็มไปด้วยรายชื่อ ของนักออกแบบนามอุโฆษแห่งยุคแทบทุกราย
(Flecher,Sagmister,Carson,Kenya Hara ฯลฯ) ความแตกต่างของ Rennerในขณะนั้น
กับรายชื่อนักออกแบบคนอื่นๆ มีมากขึ้นทุกขณะ

กล่าวโดยย่อ Paul Renner(Paul Friedrich AuGust Renner)
เกิดเมื่อ 9สิงหาคม 1878 ก่อนผ่านช่วงชีวิตต่างๆ และพื้นเพทางครอบครัว
จนมาสู่การทำงาน เป็นอาจารย์ของ Bauhaus ตัว Renner เองมีบทบาท
ในแง่ของทั้งการเป็นอาจารย์ และนักออกแบบในยุคที่กำลังผลักดันแนวคิดของ
Bauhaus สู่ความเป็น(Modernism) แนวคิดกระแสหลักกระแสหนึ่งของโลกจนปัจจุบัน

Paul Renner มักเป็นที่รู้จักในฐานะของอาจารย์และนักออกแบบ แต่ตัวของเขาเอง
ก็ยังคงชื่นชม และมีความสามารถทางศิลปะจำพวกการวาดภาพอยู่ไม่น้อย
ด้วยแนวความคิดและความสนใจในเรื่องของการออกแบบสิ่งพิมพ์ต่างๆของเขา
นำพาไปสู่การตั้งคำถามในเรื่องการจัดการกับตัวอักษร และการออกแบบสิ่งพิมพ์ต่างๆ
ที่ช่วยขยายขอบเขตของแนวคิด Bauhaus ที่คนทั่วไปมักเข้าใจในรูปแบบของ งานทางสถาปัตยกรรม
ประติมากรรม หรือทางจิตรกรรม ให้เพิ่มมากขึ้น (ด้วยความเห็นส่วนตัวผมเข้าใจว่าขอบเขตทางการจัดการ และออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในยุคนั้น ยังไม่โดดเด่น และได้รับความสนใจมากเท่างานทางสถาปัตยกรรม ซึ่งจะสังเกตุได้จากการเปลี่ยนแปลงหลักๆเราจะมองเห็นรูปธรรมจากงานออกแบบ
ทางสถาปัตยกรรมเด่นชัดมากกว่าทางสาขาอื่นพอสมควร)
การถกเถียงกันในเรื่องความสำคัญของตัวอักษร และสิ่งพิมพ์ในพื้นฐานความเป็นวัฒนธรรมของเยอรมัน ความหัวก้าวหน้าที่เปิดรับการเปลี่ยนแปลงและมองหาอัตลักษณ์ของเยอรมันในยุคนั้น
ความเห็นที่มีต่อความเหมาะสมของ StyleในLetter form ของเยอรมัน เพื่อมาสู่ทางเลือกที่มากกว่า
Gothic / Roman Style ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

------------------------------------------------
เอาเป็นว่าติดไว้ก่อนถ้าชอบผมคงจะอัพต่อ
ผมว่าหลังจากการศึกษาเรื่องของ Paul Renner
มันมีความน่าสนใจมากมาย ทั้งในเร่ื่องที่เราพยายามจะมี
หรือเรื่องที่เรามีแล้วแต่เราไม่เป็นในสังคมไทยๆ แบบของเรา

วงล้อทางการศึกษาของเราในเรื่องต่างๆ มันขาดๆเกินๆ กับอะไรอยู่?

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

such as

วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Magnetic_movie

ด้วยอะไรไม่รู้ ปกติผมไม่ชอบอะไรโมชั่นๆนะ
แต่อันนี้ผมชอบมาก ผมว่ามันน่าสนใจนะ
กรอบของโลกเรามันคงเหมือนแค่น้ำผึ้งหยดเดียวจริง
>ลองชมจาก Link นะครับ

**********************************