วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

ที่มา Thesis

ผมพยายามที่จะหาอะไรมาอัพในบลอคนี้ ที่มันเกี่ยวกับทีสิสที่ได้ทำไปพอสมควร
แต่ผมคิดอยู่นาน (หรือดองนาน) จนนึกขึ้นได้ว่า อัพเกี่ยวกับทีสิสในส่วนที่ไม่มีเขียน
หรืออรรถาธิบายกับเหล่คณะกรรมการน่าจะดี

เพราะในส่วนของเนื้อหาสาระนั้น บางครั้งก็ต้องยอมรับว่า
คนเราถ้าหากมันไม่มีอะไรภายนอกมาดึงดูดใจนั้นแล้ว
คงจะยากที่จะมาสนใจ กรรมวิธีหรือขั้นตอน ซึ่
งถึงจะมีประโยชน์
ก็เชิญไปอ่านเอาเองในตัวเล่มศิลปนิพนธ์ และถามผมเองจะดีกว่า

> ที่มาของงานนั้น ถ้าหากจะเล่าย้อนไปก็คงต้องย้อนกลับไปในช่วงนึง
ที่ผมยังเด็กมาก หรือช่วงอนุบาลอะไรประมาณนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว
ครอบครัวผมซึ่งมักจะคาดหวังหรือ คิดเห็นกับการดูแลลูกชายคนเดียวในบ้าน
ตามแบบของครอบครัวไทยซึ่งติดกับขนบ หรือความคิดเดิมๆพอสมควร ทั้งเรื่อง
อนาคตหรืออาชีพการงานต่างๆ การเลี้ยงดู การปูพื้นฐานทางความรู้จึงมักเน้น
ไปทางสายอาชีพซึ่งทางผู้ใหญ่คิดเอาเองว่าน่าจะมีความมั่นคง ตามปกติ
ผนวกกับคุณพ่อ ซึ่งเรียนมาทางด้านการคำนวน หรือค
ณิตศาสตร์ประยุกต์
ซึ่งในสำนักงานของทั้งคุณพ่อและแม่ก็จะมีคนที่ทำงานเป็นสถาปนิค อยู่ทั้งคู่
ซึ่งถ้าหากในวัยเด็กถ้าพูดถึงเรื่องทางศิลปะอาชีพที่ผมจะนึกถึงอันดับแรกก็คือสถาปนิค
หรือวิศวกร

ซึ่งก็คงไม่แปลกถ้าตอนเด็กใครๆก็อยากเป็นนุ่นเป็นนี่อยู่เรื่อยๆ เปลี่ยนไปเรื่อย
ตอนนั้นผมมีความคิดที่จะชอบทางศิลปะบ้างแ
ล้ว แต่ค่อนข้างถูกปิดกั้นจากการเลี้ยงดู
และปลูกฝังของครอบครัวพอสมควร ซึ่งอาจจะเป็นขั้นถึงที่ว่าเป็นสายอาชีพที่ "ห้าม" ที่จะ
ทำต่อไปในอนาคต (ครอบครัวผมเน้นให้ผมเป็นนักวิทยาศาสตร์ซะงั้น พวกอุปกรณ์การทดลอง
ยันกล้องจุลทรรศน์ และกล้องดูดาวยังมีเลย)
ซึ่งก็เเปลกที่จริงๆผมสนใจทั้งเรื่องศิลปะและวิทยาศาสตร์ทั้งสองเรื่องพร้อมๆกันโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ข้างบ้านผมเป็นนักเรียนศิลปะของมัณฑศิลป์ ศิลปากรฯ มั้ง
ผมจึงมีโอกาสอ่านการ์ตูน มากมาย ทั้งเล่มที่หายากมากๆ เช่นพวก artbook ของศิลปินดังๆ
จากญี่ปุ่น และพวกตัวการ์ตูน Marvel ทั้งหลาย

ซึ่งจากการอ่านการ์ตูนมากๆ คงเป็นธรรมดาที่เด็กอย่างผมจะเกิดความคิดเรื่อง
ง่ายๆ ที่ว่า ถ้าตัวพวกนี้ออกมาจริงๆก็คงจะดี ตอนเด็กๆผมจึงมักหมดเวลาไปกับการวาดการ์ตูน
ส่งไปขายหัวเราะ (เรื้อนมากวัยเยาว์) การอ่านหนังสือ และการนำวัสดุ หรือกระดาษต่างๆ
ออกมาสร้างเป็นชิ้นส่วนเหมือนในการ์ตูน อย่าง Cobra , Gundam , Gunm Last Order ฯลฯ
(ชนิดทำเป็นยานเลยนะ เล็กๆไม่ ใหญ่ๆทำ)

แต่มันก็ไม่สามารถตอบคำถามเรื่องนึงของผมในตอนนั้นได้ ก็คือจากการอ่านหนังสือมากๆนั้น
ผมจะสนใจรูปร่างหน้าตาตัวหนังสือพอสมควร และจากการเดินทางไปย่านราชดำเนินบ่อยๆ
ซึ่งมักจะมีทั้ง culture และป้ายร้านรวงต่างๆ ที่มักมีเสน่ห์ดูดใจได้เสมอ
จึงเกิดคำถามที่ว่า"ถ้าตัวหนังสือ มันออกมาเป็นตัวตนจริงๆมันจะหน้าตาเป็นยังไง?"

มันเป็นคำถามในใจเก็บไว้ตั้งแต่เด็กๆว่าตัวการ์ตูน หรืออะไรๆ มันออกมาได้อยู่แล้ว
เพราะมันมีความเป็นไปได้ของมวลและรูปทรงที่โดเรมอนหัวในเส้นผ่านศุนย์กลางขนาดนี้
มันจะออกมาเท่าไหร่ (ตอนเด็กๆคิดง่ายๆได้แค่นี้) แต่ความเป็นไปได้ของตัวหนังสือ
ในการออกมาเป็นตัวเป็นตนจริงๆนั้น แทบจะไร้ข้อกำหนด การที่ป้ายร้านทองนั้น

ออกมาเป็นความหนา 1 นิ้วได้นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเกิดจากความเคยชิน และตรรกะ
ในขั้นที่เรียกว่า "เหมาะสม" กับหลายปัจจัย ทั้งความเคยชิน ชั้นเชิงทางฝีมือช่าง ฯลฯ
ซึ่งมันไม่น่าจะใช่สิ่งที่เรียกได้ว่า ความจริงแล้วตัวหนังสือ สามาารถออกมาในโลกเสมือนจริง (3D)
นั้นจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

แน่นอนความคิดและปัญหาเหล่านั้นก็ได้หายไปตามเวลา หรือบางทีผมคงลืม

จากการเรียนในมหาวิทยาลัย ในคาบที่อ.โรจน์ สยามรวย ได้สอนและให้งานในการจัดหน้าตัวหนังสือ
และพิมพ์ออกมานั้น ตอนนั้นถือได้ว่าได้เปิดโลกผมอย่างมาก เมื่อตอนหยิบกระดาษ
ที่เป็นตัวหนังสือจัดหน้ากลาง ออกมาจากLaser Printer ของมหาลัย และการมองเห็นตัวอักษร
ที่เกิดจากระบบการพิมพ์นั้นได้ดึงดูดความสนใจของผมได้มากพอสมควร จากทั้งส่วนโค้ง และ

สัณฐานต่างๆของตัวอักษร ซึ่งถือว่าเป็นก้าวแรกในการให้ความสนใจในเรื่องตัวอักษรของผมมากพอสมควร

จากนั้นในวิชาเดียวกันในเทอมถัดมา ผมได้เรียนกับอ.ซูม ซึ่งในคาบแรก อ.ซูมได้นำหนังสือ
เกี่ยวกับ Typography มาประมาณสองสามเล่ม (คิดว่าเล่มที่ผมหยิบมาดูน่าจะเป็น TDC เล่มไหนจำไม่ได้)
ซึ่งจะมีกรอบเล็กๆภาพนึงเป็นงานชื่อ Crystal Goblins
(เข้าใจว่าชื่อนำมาจากบทความชื่อ The Crystal Goblet จึงใช้คำว่า Goblins แทน )
ซึ่งนับว่าเป็นอีกขอบเขตนึงของตัวอักษรที่ผมไม่รู้จัก

และประกอบกับอ.ซูม พูดว่า"งานนี้ขั้นเทพแล้วถึงจะทำได้"
ตอนนั้นผมก็ไม่รู้ว่ามันยากยังไง เพราะยังเด็ก ประกอบกับถึงจะชอบตัวอักษร แต่งานก็จัดได้ว่า
อยู่ในขั้นหมาไม่เห่า แถมยังยากอีกด้วย เลยไม่ได้อยากถามอะไรต่อ



^ ตัวอย่างของ Crystal Goblins จากหนังสือ Dimensional Typography

ซึ่งภาพของ The Crystal Goblins ติดตาผมพอสมควร
และด้วยอะไรไม่รู้ผมซึ่งสนใจในเรื่องการออกแบบตัวอักษรอยู่แล้ว
จึงได้ติดใจอะไรกับมันสักอย่างโดยไม่รู้คำตอบ และพยายามค้นหางานในแบบๆเดียวกันอยู่นาน
(ซึ่งมารู้ตอนหลังนี่เองว่าจริงๆแล้วทำไมสนใจนักอาจจะเป็นเพราะเป็นคำถามที่คาใจมายาวนานโดยไม่รู้ตัว)

คงต้องขอข้ามเรื่องความสนใจในการออกแบบตัวอักษรไปก่อน
แต่ในช่วงเดียวกันนั้นเอง ผมซึ่งชอบทำอะไรหลายๆอย่างอยู่แล้ว
และในที่สุดก็ทำให้ผมได้รู้จักกับ AAtion ของอังกฤษ ก็นับเป็นอีกขั้นในการ
ทำความเข้าใจในตัวArchitecture มากจริงๆ ซึ่งสิ่งที่จะมาขวางกั้นจินตนาการ
จากการก่อสร้างในรูปแบบที่ไม่อยากเรียกว่าModernเลย -_- ในสังคมปกติ
ได้หายไปโดยแทบจะสิ้นเชิง การศึกษาและใส่ใจในเรื่องขั้นตอน และการทำความเข้าใจใน
ตัวArchitecture ของผมจึงเริ่มมาจากตอนช่วงไล่เลี่ยกันด้วย

>การเปิดความเข้าใจสิ่งต่างๆในทั้งเรื่องของการออกแบบตัวอักษร และความเข้าใจในเรื่องการทำงาน
เพื่อให้ได้โครงสร้าง และรูปทรงต่างๆเริ่มเป็นสิ่งที่น่าจะมีความเป็นไปได้มากขึ้น
และผมคิดว่าคงเป็นโอกาสดีที่จะได้ตอบสนองคำถามตัวเองนี้
และการศึกษาเพื่อหาขั้นตอนต่างๆจากการทำทีสิสครั้งนี้เพื่อการทำงานอื่นสนองจินตนาการตัวเองต่อไปในอนาคต
ซึ่งเป็นที่มาของคำถามที่ว่า 2d>3d ได้อย่างไร
และการนำความสัมพันธ์ในการรับรู็เรื่องมิติของมนุษย์จากทั้ง Typography,Architecture มาใช้
ซึ่งอย่างน้อยๆที่สุดความค่อนข้างสุดขั้วของทั้งสองฝ่ายในเรื่องที่เกี่ยวกับการรับรู้ของมนุษย์มีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
เราจะสามารถนำ TypoGraphy ออกมาเป็น 3D ในโลกความเป็นจริงได้นั้น ต้องยอมรับว่า มันแน่นอนที่จะมีหลากหลายวิธีการ
เพื่อนำไปสู่ผลนั้น และการนำ TypoGraphy มาเป็น 3D ด้วยวิธีการทาง Architectureหรือสิ่งที่มีหลักการทำงานเกี่ยวกับสิ่งที่เป็น 3Dอยู่แล้ว
ของผมนั้นก็คงเป็นทางเลือกเล็กๆอีกทางในการทำความเข้าใจได้อย่างง่ายที่สุด
ในกับทั้งทางขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าวิธีการอื่นๆนั้นมีแน่นอน
แต่การทำแบบนี้น่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด (อาจจะเพราะมันมีสิ่งที่จับต้องเเละทำความเข้าใจได้ง่าย
แม้คนที่มีความรู้เพียงผิวเผินอย่างผมก็สามารถทำได้) ซึ่งจะเห็นได้ว่า การนำ case study มาใช้นั้นค่อนข้างให้ผลที่ดีต่อการทำความเข้าใจ
ในคนหมู่มากพอสมควร เพราะมีขอบเขตมากขึ้นทำความเข้าใจง่ายขึ้น

สุดท้ายคงเป็นครั้งหน้า ที่จะพูดถึงองค์ประกอบต่างๆต่อไป
เอา PDF เลยมั้ย ? ไม่ให้หรอก เพราะไมีมีคนอ่าน อัพเองอ่านเอง

2 ความคิดเห็น:

Nattapol Rojjanarattanangkool กล่าวว่า...

เอา กูอ่าน

Yoyo กล่าวว่า...

ที่บ้านมีกล้องจุลทรรศน์ ยันกล้องดูดาวเลย เหอะๆๆ